
ปกติพวกเราทานข้าวกันแทบทุกมื้อ บางคนไม่ทราบด้วยซ้ำว่าข้าวที่พวกเราทานกันอยู่นั่นคือข้าวพันธุ์อะไร ทราบแต่เพียงว่าเป็นข้าวเหนียวหรือข้าวจ้าว วันนี้ทางสวนการเกษตรเลยจะมาแนะนำให้รู้จักกับข้าวพันธุ์ กข 79 ซึ่งเป็นข้าวอีกพันธุ์หนึ่งที่กรมการข้าวได้พัฒนาขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง
ประวัติและลักษณะของข้าวพันธุ์ กข.79
กข79 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง PSL00034-373-1-3 ต้านทานต่อโรคไหม้เป็นพันธุ์แม่กับ PSBRc20 ต้านทานต่อโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาลเป็นพันธุ์พ่อ คัดเลือกพันธุ์ ปลูกทดสอบผลผลิต ได้ข้าวเจ้าสายพันธุ์ CNT0718-26-1-1-1 โดยศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทมีมติให้เป็นพันธุ์รับรองชื่อ กข79 (ชัยนาท 62) เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562

ลัษณะของ กข. 79
- เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง
- รวงแน่นปานกลาง ยาว 27.8 เซนติเมตร
- เมล็ดร่วงง่าย
- ระยะพักตัว 6 สัปดาห์
- ข้าวเปลือกสีฟาง มีขนาด 10.50 X 2.58 X 2.02 มิลลิเมตร
- ข้าวกล้อง รูปร่างเรียว มีขนาด 7.74 x 216 X 1.80 มิลลิเมตร
- ข้าวสาร มีขนาด 7.53 x 2.10 x 1.76 มิลลิเมตร
- ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 55.61 เปอร์เซ็นต์
- ปริมาณอมิโลสต่ํา (16.82 %) • ข้าวสุกมีลักษณะสีขาวนวล นุ่มเหนียว
ลักษณะเด่น
- ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาล และ โรคไหม้
- ผลผลิตสูงเฉลี่ย 809 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ กข21 (743 กิโลกรัมต่อไร่) พิษณุโลก 2 (753 กิโลกรัมต่อไร่) และกข47 (787 กิโลกรัมต่อไร่) คิดเป็นร้อยละ 9, 7 และ 3 ตามลําดับ ศักยภาพให้ผลผลิตสูง 1,182 กิโลกรัมต่อไร่
- คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี เป็นข้าวเจ้า เมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีมาก สามารถผลิตเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1 ได้